โอ๊ย! ทำไมปวดหัวแล้วยังปวดฟันอีก อ๊ะๆ คุณกำลังนอนกัดฟันรึเปล่านะ การที่เรามีอาการ “นอนกัดฟัน” เป็นปัญหาที่มองข้ามไม่ได้ มันอาจดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่จริงๆ แล้ว มันเป็นอาการที่พบได้บ่อยมากๆ ในทุกเพศทุกวัย และมันอาจส่งผลเสียที่ร้ายมากๆ ต่อคุณภาพชีวิตของคุณ ทำให้การนอนของคุณสะดุดติดขัดถึงแม้ว่าอาการนอนกัดฟันจะเกิดแบบไม่รู้ตัวก็ตาม ซึ่งนอกจากปัญหานี้จะส่งผลโดยตรงกับตัวคุณเองที่ต้องเสี่ยงต่อฟันสึกกร่อนแล้ว ยังส่งผลไปยังคนรอบข้างของคุณอีกด้วย
นอนกัดฟัน คืออะไร?
อาการนอนกัดฟันเกิดขึ้นจากอะไร การนอนกัดฟันเป็นลักษณะอาการของผู้ที่หลับไปแล้ว แต่จะมีเสียงออกมาคล้ายกับคนนอนกรน แต่เป็นเสียงเหมือนฟันขบกัดกัน สบกันแรงๆ ซึ่งระหว่างที่กำลังนอนหลับอยู่ จะมีเสียงเบาหรือดังก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน และส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันมักที่จะไม่เคยรู้ตัวมาก่อน และไม่สามรถที่จะขัดขืนพฤติกรรมนี้หรือบังคับไม่ให้นอนกัดฟันไม่ได้
6 สาเหตุของอาการ นอนกัดฟัน
จริงๆ แล้ว สาเหตุของการนอนกัดฟัน เกิดจากการที่เราอาจจะกำลังป่วยเป็นโรคผิดปกติจากการนอนหลับ และยังอาจมาจากสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ชั่วคราว เช่น
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
- ความเครียด
- การดื่มแอลกอฮอล์
- ใช้ที่อุดฟันที่สูงเกินฟันจริงมากเกินไป
- เป็นโรคปริทันต์อักเสบ หรือเหงือกอักเสบรุนแรง
- มีความผิดปกติของขากรรไกร เช่น ขากรรไกรค้างบ่อยๆ
6 สัญญาณอันตรายของอาการ “นอนกัดฟัน” ที่ต้องพบหมอด่วน
- ตื่นเช้ามา รู้สึกปวดขากรรไกรบ่อยๆ
- คนใกล้ตัวบอกว่า นอนกัดฟันบ่อยๆ
- ปวดศีรษะ
- นอนกัดฟันอย่างรุนแรง จนรู้สึกเหมือนปวดฟัน ฟันสึก ฟันโยก
- มีแผลในปาก หรือกระพุ้งแก้ม โดยไม่ได้มาจากการเคี้ยวผิดจังหวะ หรือไม่ทราบสาเหตุ
- เสียวฟัน
อันตรายจากการนอนกัดฟัน
อย่างไรก็ตามอันตรายจากการนอนกัดฟันที่นอกจากจะทำให้คนที่นอนอยู่ข้างๆ เกิดความรำคาญ และอาจนอนไม่หลับแล้ว การที่นอนกัดฟันบ่อยๆ จนอาจเกิดแทบทุกวัน ยังส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะลดประสิทธิภาพในการนอนหลับพักผ่อนลง และเสี่ยงให้เกิดปัญหาฟันสึกกร่อนมาก ถึงขนาดเข้าไปถึงชั้นเนื้อฟัน และส่วนใหญ่จะเกิดที่ฟันกราม อาจส่งผลให้มีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่เสี่ยงฟันสึกกร่อนแล้วยังส่งผลถึงปัญหาเรื่องฟันโยกได้มากกว่าวัยอื่นๆ
ดังนั้น หากสงสัยว่าตัวเองมีความผิดปกติขณะนอนหลับ อาจมีความเสี่ยงนอนกัดฟัน ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคความผิดปกติจากการหลับ เพื่อวินิจฉัยตรวจหาสาเหตุ และรับการรักษาอย่างเหมาะสม